Webs of Zen

หนังสือธรรมทาน
ชุด ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น


เล่มที่ ๑เล่มที่ ๒เล่มที่ ๓เล่มที่ ๔



สมเด็จพระจักรพรรดินีบูเช็กเทียง พระองค์ผู้เสวยซึ่งเอกอัครสุวรรณจักร โดยเทวโองการแห่งสวรรค์ มีพระราชเสาวนีย์ให้สถาปนา ประกาศเกียรติคุณ แห่ง องค์สังฆปริณายก อันดับที่ ๖ ของ นิกายเซ็น ว่า

 อันพระอาจารย์ผู้นี้ อุดมด้วยคุณสมบัติสัมปยุตกับอสังขตธรรม เป็นที่ เฉิดฉายส่องรังสียังเกียรติคุณแห่งพระบูรพาจารย์ให้ปรากฏ พระอาจารย์ได้เข้าถึงอนุสาสน์ อันฉับพลันตามคติในพุทธศาสนามหายาน ท่านได้แสดงออกซึ่งสัญญลักขณ์แห่งสัจธรรม โดยไม่ต้องอาศัยแอบอิงด้วยลักษณะ กล่าวคือ พระนิพพาน กิตติศัพท์แห่งท่านนี้แพร่หลาย ไปทั่วทุกทิศทุกสถานที่ทุกโอกาส นามของท่านย่อมสุรภีทั่วทุกด้าวแดน สรรพกิเลสนานัปการ ไม่อาจยังท่านให้อาดูรวิปลาสไปได้ ท่านเป็นผู้ควบคุมอายตนะภายใน ของท่านให้อยู่ในภาวะ สงบ พระอาจารย์ผู้นี้ได้บรรลุถึงวิมุติภาพ จิตของท่านเล่า ก็ได้เข้าถึงภูมิโพธิญาณ สำหรับตัวของข้าพเจ้านี้ แม้นจะได้เสวยเอกอัครราชสมบัติ มีราชกิจอันเป็นโลกียวิสัย ต้องประกอบอยู่เต็มมือ มีแต่ความเคารพเลื่อมใสในองค์พระองค์ พระอาจารย์อย่างสูงสุด ไว้เหนือเศียรเกล้า กิจประวัติถึงอมฤตธรรม มีความปรารถนาเป็นนิรันดร์ ในการที่จะ ได้เป็นศิษย์ใกล้ชิดของพระอาจารย์ เพื่อเป็นการแสวงหาวิมุติมรรค อันจักยังผลให้ บรรลุสู่โลกุตรภูมิ อนึ่ง ปฏิปทาของพระอาจารย์ ย่อมสมบูรณ์ด้วยกรุณาเป็นปุเร จาริก เป็นหิตานุหิตประโยชน์ โปรดสรรพสัตว์ ชื่อว่าท่านเป็นผู้ทอดธรรมนาวาใน ท่ามกลางวัฏสงสารโอฆกันดาร ช่วยชักจูง โปรดสัตว์ผู้จมอยู่ในห้วงตัณหา ให้เข้า ถึงฝั่งแห่งภพ เพราะฉะนั้น ในปรัตยุบันนี้ ข้าพเจ้าจึงสั่งราชเลขาโง้วฉุ่งเท่ง นำบาตรไพฑูรย์อันมีค่า ๑ ชุด สังฆาฏิ ๑ ผืน นิสีทสันถัต ๒ ผืน ใบชาหอม ๕ ห่อ เงินเหรียญ ๓๐๐ กวง มาถวาย อันของถวายเหล่านี้แม้จักเป็นของเล็กน้อย แต่ก็เป็นการแสดงออกซึ่งความสัทธาปสาทะของข้าพเจ้าที่มีต่อพระอาจารย์ นอก จากนี้ข้าพเจ้ายังมีโองการให้เจ้าเมืองเสี่ยวจิวมาเยี่ยมเยือน เอาใจใส่พระอาจารย์ พร้อมด้วยภิกษุสามเณรในอาราม ป้องกันมิให้มีผู้มารบกวนความสงบในสำนักใดๆ


  แปลโดย ส.โพธินันทะ[1]


พระภิกษุเว่ยหล่าง พระสังฆปริณายก

ชีวประวัติ พระสังฆปริณายกองค์ที่ ๖[2][3] พระเว่ยหล่าง มหาครูบา (หุยเล้งไต้ซือ), เดิมเป็นชายหนุ่ม ผู้มีความกตัญญู ตัดฟืนขายเลี้ยงมารดา. ได้ฟังเขาสวด “วัชระ ปรัชญาปารมิตาสูตร” ถึงตอนที่ว่า “จิตเกิดอย่างไม่ติด” แล้ว ใจลุกโพลง ! สว่างไสวในพระพุทธธรรม, อายุ ๒๔ ปี ได้รับการ ถ่ายทอด บาตร-จีวร-สังฆาฏิ-ธรรมของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพระสังฆปริณายกองค์ที่ ๖ (ถ้านับตามสายจากอินเดียลงมา ต้องนับเป็นอันดับที่ ๓๓) ได้ฟังโศลกของครูชินเชา (ซิ่งซิ่ว) ก็รู้ว่ามีปัญญาเพียงแค่รู้แจ้งอนัตตา คือโลกียธรรมเท่านั้น. โศลก ของเว่ยหล่าง เข้าถึงสุญตาคือโลกุตรธรรมไปแล้ว. มีโศลกของ พระสังฆปริณายกองค์ที่ 5 (ฮ้งยิ้มมหาครูบา). ท่านอุบาสก เว่ยหล่างได้รับบาตร-จีวร-สังฆาฏิ-ธรรมแล้ว โอ...อมิตาพุทธ ! ต้องรีบหนีภัย ไปอยู่กับพวกพรานในป่าทึบนานถึง ๑๕ ปี. ท่าน ถือมังสวิรัติ ไม่เสพเนื้อสัตว์ ยามจนมุมเข้าก็เดินสายกลาง คือ เอาผักลงไปอาศัยต้มในหม้อเนื้อของพวกพรานป่า แล้วก็กิน แต่ผักนั้นล้วน ๆ เป็นตัวอย่างของผู้ถือมังสวิรัติด้วย “ฉันผักใน จานเนื้อ” พระเจ้าจักรพรรดินีบูเช็กเทียง มอบให้ราชเลขาธิการ ชื่อ “โง้วฉุ่นเท่ง” นำพระราชสาสน์และบาตรไพฑูรย์และสิ่ง ของอื่น ๆ ไปถวาย


บทที่ ๑บทที่ ๒บทที่ ๓บทที่ ๔บทที่ ๕บทที่ ๖บทที่ ๗บทที่ ๘บทที่ ๙บทที่ ๑๐บทที่ ๑๑บทที่ ๑๒บทที่ ๑๓บทที่ ๑๔


หนังสือธรรมทาน
ชุด[𝓚] ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ ๑

บทที่ ๑

ยังมีชาวนา ผู้ซึ่งไม่รู้จักหนังสือทั้งสติปัญญาก็ค่อนข้างจะโง่ทึบคนหนึ่ง อยู่มาวันหนึ่ง เขาคิดอยากจะไปบวชเป็นพระที่สำนักสอนธรรมมีชื่อเสียงในเมืองแห่งหนึ่ง แต่ต้องผิดหวัง เพราะกฎของวัดนั้นมีระเบียบวางไว้ว่า ถ้าบุคคลใดจะเข้ามาบวชเป็นพระอยู่ในวัดนี้ จะต้องท่องสูตรพระอภิธรรม หรือคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งให้ได้เสียก่อน ... ทางวัดจึงจะอนุญาตให้บวชได้   ชาวนาผู้นี้จึงขอเข้ามาอาศัยอยู่ในวัดเพื่อฝึกหัดเรียนไปพลางก่อน!   อาจารย์เห็นความตั้งใจดีของเขา จึงรู้สึกสงสารพยายามสอนธรรมเบื้องต้น ๆ ให้ ... อดทนสอนไปเถิด! เดือนก็แล้วปีก็แล้ว เรื่องจิต-เจตสิก-รูป-นิพพานนั้น ไม่ต้องพูดถึงเลย ไม่มีทางจะฟังกันรู้เรื่อง เอาเพียงแค่ “โลภะ-โทสะ-โมหะ 3” ตัวนี้เท่านั้น ก็ยังจำลักษณะหรือเข้าใจอาการของจิตไม่ได้ หลายปีผ่านไปอาจารย์ผู้สอนเกิดท้อใจขึ้นมา คือมองเห็นความโง่ซึ่งเป็นวิบากกรรมเก่า ๆ ของศิษย์ แล้วก็ปลงใจจึงบอกกับศิษย์ตรงๆ ว่า “ต่อไปนี้เจ้าไม่ต้องเรียนหรือท่องบ่นคัมภีร์อะไร ๆ ให้มันยุ่งใจหนักสมองเกินตัวเจ้าไปเลย ... เจ้าจงตั้งหน้าตั้งตาทำงานที่เป็นบุญกุศลไปให้มาก ๆ ก็พอแล้ว ... บุญบารมีของฉันที่จะเป็นอุปัชฌาย์ของเจ้านั้นคงจะไม่ได้สร้างสมมาแต่ชาติก่อน เอาไว้คอยชาติหน้าเถิด! เผื่อว่าฉันได้ตรัสรู้ธรรมเมื่อใดแล้ว จึงจะค่อยมาเป็นศิษย์เป็นอาจารย์กันใหม่”

พวกศิษย์ร่วมสำนักได้ตั้งสมญานามให้เขาว่า “นายดอกบัวใต้น้ำ” ใช้เรียกกันจนติดปากหมดทั้งวัด

ต่อมาวันหนึ่ง “นายดอกบัวใต้น้ำ” นั่งครุ่นคิดอยู่ในใจว่า เรามาอยู่วัดนี้ก็หลายปีแล้ว เรียนอะไรก็ไม่ได้ความสักอย่างจนกระทั่งท่านอาจารย์ถึงกับบอกคืนตำแหน่งผู้สอนให้แก่เราเสียแล้ว ต่อไปคงจะไม่มีใครรับสอนธรรมให้เราอีกเป็นแน่... คิด ๆ ไปก็กลุ้มใจหนักขึ้นทุกที...

บังเอิญมีภิกษุต่างเมืองรูปหนึ่งที่มาศึกษาธรรมอยู่ด้วยกันเห็นแล้วเกิดสงสารในความโง่ทึบของสมอง ของ “นายดอกบัวใต้น้ำ” นี้ขึ้นมา จึงแนะนำด้วยเจตนาดีแก่เขาว่า ฉันได้ยินข่าวมาว่า ณ เมืองโซกายมีอาจารย์เซ็น[4] ผู้หนึ่ง ท่านมีสานุศิษย์อยู่เป็นจำนวนมาก วิธีสอนของท่านแปลกพิสดารกว่าสำนักอื่น ๆ คือสอนทางลัด... อาศัยประสบการณ์ทางธรรมชาติของศิษย์แต่ละคนเป็นเกณฑ์ ถึงแม้คนที่ไม่รู้จักหนังสือมาก่อนเลย ก็ยังจะสามารถเรียนรู้ . .


บทที่ ๒

อีกสองวันต่อมา “นายดอกบัวใต้น้ำ” เห็นท่านพ่อถือไม้เท้า เดินออกมานั่งหน้ากุฏิจึงค่อย ๆ เดินเบา ๆ เข้าไปกราบลงบนแทบเท้าสามครั้ง แล้วกราบเรียนท่านว่าผมเป็นคนชาวนา เกิดมาในตระกูลยากจนขัดสน ... พ่อแม่ก็ตายตั้งแต่ผมยังเยาว์วัย เลยขาดผู้อุปถัมภ์ให้ได้เล่าเรียนหนังสือ อยู่มาวันหนึ่ง ... ผมคิดเบื่อหน่ายในชีวิตที่ยากแค้น  ที่มีมาตั้งแต่เล็กจนโต  จึงคิดอยากจะบวช เผื่อจะได้บุญกุศลบ้าง  จึงได้เดินทางเข้าไปในวัดแห่งหนึ่งเพื่อจะขอฝากตัวเป็นศิษย์ แต่โชคไม่ดี ท่านเจ้าอาวาสนั้นบอกว่า ผู้ที่จะมาบวชอยู่ในวัดนี้จะต้องท่อง สูตรพระอภิธรรม หรือคัมภีร์ใดคัมภีร์หนึ่งให้ได้เสียก่อน จึงจะยอมให้บวช  ผมบอกไปว่า ผมไม่รู้จักหนังสือ ท่านอาจารย์สงสารผมมากอุตสาห์เอาคัมภีร์มาอ่านให้ฟังเวลาท่านว่างเสมอ ๆ ผมก็ตั้งใจฟัง และเรียนอยู่หลายปีก็ยังท่องจำอะไรไม่ค่อยจะได้  ท่านสอนให้ผมระวังคอยจับลักษณะวาระของจิต เช่น “โลภะ-โทสะ-โมหะ-”  ให้ดี ๆ ว่ามันแสดงอาการออกมาในรูปไหน ? ผมก็ได้เรียนมาเป็นเวลานานแล้ว . .


บทที่ ๓

ต่อจากนั้น นายดอกบัวใต้น้ำ ก็จำแม่นขึ้นใจ เป็นอันว่าได้บรรลุธรรมข้อ “โลภะ และ โทสะ” ได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ทุก ๆ วัน นายดอกบัวใต้น้ำ ช่วยเขาผ่าฟืนตักน้ำตามที่ตนถนัดมือตลอดเวลาหลาย ๆ เดือน ทุกเช้าเย็นภิกษุสามเณรหมดทั้งวัดต้องลงโบสถ์สวดมนต์ คือ สาธยาย   วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (กิมกังเก็ง ฯ) และปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ซิมเก็ง) ซึ่งนิกายเซ็นถือว่า พระคัมภีร์สองเล่มนี้ สำคัญที่สุดของเซ็น ถึงแม้ศิษย์ที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ยังต้องมานั่งฟังพร้อม ๆ กันทุกเช้า-เย็น  ฟังไปนานๆ จิตอาจจะเกิดความสว่างไสวแวบขึ้นมา  ในขณะใดขณะหนึ่ง  แล้วอาจจะบรรลุธรรมก็ได้เหมือนกัน ใจความสำคัญของพระสูตรสรุปย่อสั้น ๆ ไว้ดังนี้ :-

“ ให้ขันธ์ 5 เป็นทาน
สูงกว่าเงินทองเป็นทาน
พิจารณาขันธ์ 5 ให้ว่าง
ทุกข์ทั้งปวงจะดับหมด”

อยู่มาวันหนึ่ง  ท่านพ่อเรียกประชุมสานุศิษย์แสดงธรรมเรื่อง  “ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร”  ท่านกล่าว่า คัมภีร์นี้สำคัญมากสำหรับนิกายเซ็น (ฌาน)   เป็นสูตรที่รวมเอาใจความของพระธรรมทั้งหลายมาอยู่ในสูตรนี้  ถ้าผู้ใดได้ศึกษาและฟังเข้าใจ แล้วนำไปปฏิบัติจะพ้นทุกในวัฏฏะแน่นอน ต่อไปนี้ขอให้เจ้าทั้งหลายจงตั้งใจฟัง . .


บทที่ ๔

อีกสักอาทิตย์หนึ่งต่อมา ท่านพ่อ นั่งอยู่ในเงาร่มไม้ นายดอกบัวใต้น้ำจึงรวมกำลังใจอยู่พักหนึ่ง แล้วค่อยๆ เดินเข้าไปกราบที่พื้นดินสามหน

นายดอกบัวใต้น้ำ พูดขึ้นว่า ครั้งก่อน ท่านหลวงพ่อได้สอน “โลภะ และ โทสะ” ให้แก่ผมจนรู้แจ้งแล้ว บัดนี้ยังขาดตัว “โมหะ”  ขอได้โปรดช่วยกรุณาสอนให้ผมด้วย ครับ!

ท่านพ่อเฒ่า แห่งโซกาย นั่งนิ่งอยู่สักครู่ แล้วพูดขึ้นว่า “ต่อจากนี้ไป... เจ้าไม่ต้องทำอะไรทั้งหมด... ” แล้วท่านหยิบไม้กวาดยื่นส่งให้ “นายดอกบัวใต้น้ำ” แล้วพูดขึ้นอีกว่า “จงกวาดขี้ฝุ่นละอองธุลี... ทั้งนอกและทั้งในทิ้งให้หมด...”  

นายดอกบัวใต้น้ำ ครับ! รับไม่กวาดมา... จากนี้ทุกเช้าก็ต้องทำเวรเก็บกวาดใบไม้จนกว่าจะหมดทั้วทั้งลานวัด  กินเวลาทั้งวันและทุกวัน จิตใจอ่อนเพลียละเหี่ยใจไปตลอดปีทำงานนี้ซ้ำซากกันปีแล้วปีเล่า... จึงไปเรียนถามท่านพ่อว่า “ตัว-โมหะ-นั้นเป็นอย่างไร?” ท่านก็ตอบว่า “กวาดมันหมดแล้วหรือยังล่ะ?” ซึ่งคำตองของท่านนี้ ดูเหมือนจะเป็น “โกอาน หรือปริศนาธรรม” เรามันก็โง่อยู่เป็นพื้นมานานแล้ว คิดอย่างไรก็ตีปัญหาไม่แตกสักที! อุตส่าห์ไปถามกี่ครั้งกี่หน... ท่านก็ตอบว่า “กวาดมันหมดแล้วหรือยังล่ะ?” แบบนี้ทุกที! กรรมอะไรหนอ?


บทที่ ๕

มีข่าวลือแพร่สะพัดว่า นายดอกบัวใต้น้ำ-ชาวนาโง่  ได้บรรลุธรรม ณ สำนักโซกาย  แพร่ไกลออกไปทุกเมือง หลายปีต่อมา มีพ่อค้าเกลือเดินทางไปค้าขายแถบเมืองใต้ แวะพักแรม ณ วัดในสมัยที่ “นายดอกบัวใต้น้ำ”  ได้เคยมาศึกษาธรรมแล้วไม่สำเร็จ

ท่านเจ้าอาวาสวัดนั้นได้ถาม “นายวาณิช” ขึ้นว่า ท่านเดินทางมาจากเหนือเคยได้ยินข่าวว่า “นายดอกบัวใต้น้ำ” ซึ่งเคยมาเรียนธรรมอยู่กับฉันแต่ก่อนนั้น  บัดนี้ได้บรรลุธรรมที่สำนักโซกายแล้วบ้างไหม?

นายวาณิช ตอบว่า เป็นความจริง! ในวันที่ท่านอุปสมบทผมยังได้ถวายจีวรให้แก่ท่านไปหนึ่งผืนด้วย และท่านพ่อเฒ่าแห่งเมืองโซกายยังได้เปลี่ยนฉายาให้ใหม่ว่า “ภิกษุดอกบัว-พ้นน้ำ” บัดนี้กำลังเป็นอาจารย์สอนธรรมะแทน “ท่านพ่อเฒ่า” วัยชราได้เป็นอย่างดี ซึ่งกำลังมีชื่อเสียงทั่วไปทั้งเมือง...

ท่านเจ้าอาวาส อุทาน “หือ! เดี๋ยวก่อน.! ท่านว่ณิช นายดอกบัวโง่นั่นนะหรือ? สอนธรรมได้ เป็นความจริงหรือ?”

นายวาณิชตอบว่า “เป็นความจริงครับ! ท่านอาจารย์”

ท่านเจ้าอาวาส “ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงแล้ว  เมืองโซกายจะต้องมีพระพุทธเจ้ามาเกิดแน่นอน”

เอ้อ! สาธุ! สาธุ! “ฉันขออนุโมทนาด้วย ฉันจะได้หมดห่วงเขาเสียที” . .


บทที่ ๖

พอบ่ายวันรุ่งขึ้น     ท่านเจ้าอาวาสเรียกประชุมศิษย์พร้อมกัน  แล้วก็ประกาศว่า “ท่านที่เคยเชื่อถืออาจารย์ “ซิ้งทง” ผู้วิเศษนั้น  บัดนี้ตัวท่านผู้วิเศษได้มาอยู่ ณ ที่ประชุมของเราแล้ว และท่านคงจะมาทำพิธีเสกใบไม้ให้เป็นตัวต่อ  เป็นตัวแตน เสกเม็ดมะม่วงให้งอกขึ้นเป็นต้นได้ในอึดใจเดียว    ขอให้พวกเราทั้งหลายได้ชมกันขณะนี้”

ท่านซิ้งทง  ถึงกับตกตะลึงหน้าม่อย!  ไม่นึกเลยว่าพวกท่านเจ้าอาวาสจะพูดแนะนำในที่ประชุมเช่นนี้  จึงค่อย ๆ ลุกขึ้นยืนเดินก้มหน้า  เข้าไปกราบท่านเจ้าอาวาส  แล้วพูดว่า “ท่านเจ้าอาวาสครับ!  ผมเสกได้  แต่ไม่ใช่เป็นของจริงครับ!  เป็นการแสดงกลหวังผลประโยชน์เพื่อสังคมในทางอ้อมครับ!   ผมหลอกลวงต้มมนุษย์ที่มีความเชื่อถืองมงายมาเป็นพื้นฐาน    เป็นศิลปในการอำพรางตาอันแยบยล  และเป็นวิธีหาเงินของผม   จากพวกโง่งมงายได้ดีอย่างสนิทมาหลายสิบปีแล้วครับ!   ขอให้ท่านอาจารย์จงอย่าได้เชื่อตามข่าวนั้นว่าเป็นความจริงเลย!  ผมบัดนี้ก็เข้าวัดแล้ว  ไอ้เจ้ากรรมอันนั้นมันก็มาตามสนองผมจนป่นปี้หมดทุกอย่างแล้วครับ!”

ท่านเจ้าอาวาส  “ก็เพราะว่าฉันไม่เชื่อ... ว่าท่านทำได้ตามที่ศิษย์บอกนั้นซิ!  ฉันจึงอยากให้ท่านเปิดเผยวิธีการอันแยบยลของท่านที่เคยต้มพวกมนุษย์ได้อย่างสนิท... ให้พวกศิษย์ของฉันฟังจะได้หมดความสงสัยเสียที  ท่านก็จะได้บุญในการเตือนให้เขาได้สติกันบ้าง  อนุชนรุ่นหลัง ๆ อีกหลายชั่วอายุคน  จะได้ไม่หลงเสียเวลาไปในสิ่งไร้สาระ  หรือตื่นข่าวหลงผิดตามผู้วิเศษไป”

ท่านซิ้งทง  เคยเป็นผู้วิเศษหลอกลวงมนุษย์มามากมายแล้ว พอได้ยินคำว่า   เปิดเผยแล้วจะได้บุญตรงที่เตือนให้มนุษย์ได้ . .


บทที่ ๗

หลังจากนี้แล้ว ทั้งสามท่านก็ออกเดินทางจะไปเมืองโซกายระหว่างทางกลางป่าผ่านห้วยเหวมาสามวัน   ได้ยินเสียง  เ-เ อ๋  เ-เ-อ๋  มองไปเห็นช้างป่าเดินตรงมาข้างหน้า  ท่านตี้หุย  และ ชอเจ็ง ตกใจ! รีบปีนขึ้นไปเกาะอยู่บนคบไม้ ส่วนท่านซิ้งทง ผู้ชราอายุ 60 เศษ  ไม่สามารถที่จะปีนป่ายตามขึ้นไปเพื่อหลบช้างป่าได้   แต่ใจยังมีสตินึกถึง  “พระกวนอีมมหาโพธิสัตว์”  อยู่พอได้ยินเสียง  เ-เ อ๋  เ-เ-อ๋  อีกเจ็ดแปดครั้ง ขาก็อ่อน!  ใจก็สั่นนั่งฟุบลงไปที่โคนต้นไม้ พอสำรวมสติได้ก็ไม่รีรอ  จึงค่อย ๆ แอบต้นไม้สาวเถาวัลย์โหนตัวลงไปยังเชิงผา...ผลกรรมที่ตนเคยสร้างไว้มากมายมันตามมาทัน เถาวัลย์เกิดขาด ตัวก็ตกกลิ้งลงไปฟาดก้อนหินแน่นิ่งนอนสลบหมดลมปราณ... พอฝูงช้างเดินผ่านไปแล้ว เพื่อนร่วมเดินทางก็รีบลงมาช่วย แต่มันก็สายไปเสียแล้ว ท่านตี้หุยและท่านชอเจ็ง   นั่งน้ำตาไหลซึมอยู่ข้างศพปลงอนิจจังคือความไม่เที่ยงของสังขาร มี “เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย”  วนเวียนอยู่ชาติแล้วชาติเล่า   โอ...อมิตาพุทธ! เมื่อไหร่จะพ้นกันเสียทีหนอ?  แล้วก็สวดมนต์แผ่เมตตาให้แก่ดวงวิญญาณท่านภิกษุซิ้งทง ขอให้จงไปสู่ภพสุคติได้บรรลุมรรคผลนิพพานด้วยเทอญ  สาธุ!

ด้วยความห่วงอาลัยในเพื่อน ทั้งสองท่านจึงสวดมนต์หน้าศพอยู่สองวัน พอย่างเข้าวันที่สามตอนบ่ายขณะกำลังหลับตาสวดมนต์ อย่างตั้งใจอยู่นั้น...  ได้ยินเสียงครางเบา ๆ  โอ๊ย  โอย ... ออกมาจากศพ

ท่านชอเจ็ง ตกตะลึง!  ทำท่าจะเผ่นหนี!  ท่านตี้หุยก็ใจไม่ดี... จึงรีบดึงจีวรเพื่อนยึดไว้  แล้วเงี่ยหูฟัง  ได้ยิน  น้ำ-น้ำ- โอ๊ย-โอย... ทั้งสองท่านจึงแน่ใจว่า . .


บทที่ ๘

ภิกษุทั้งสามท่านเตรียมตัวจะเดินทางกันต่อไป พอเดินทางมาได้ 7 วันเสบียงอาหารที่เตรียมมาว่าพอดีกับระยะทาง    ก็กินหมดไปเสียแล้ว   เพราะมัวแต่หยุดพักรักษาพยาบาลท่านซิ้งทง เสียเวลาการเดินทางไปตั้ง 15 วัน   ปัญหาเกิดขึ้นเฉพาะหน้าว่า จะทำอย่างไรในกลางดง...   จะจับสัตว์ฆ่ากินก็ไม่ได้เพราะผิดศีล...  ในที่สุดก็ต้องอาศัยผลไม้เท่าที่จะมีในป่าพอจะช่วยประทังชีพให้เดินทางต่อไปได้   พอหลาย ๆ  วันเข้าร่างกายผิดอาหารธาตุเกิดพิการท้องไส้เริ่มจะเสีย รู้สึกอ่อนเพลียมาก  เดินทางได้ช้าลงทุก ๆ วัน  เดินไปวันหยุดพักไปวัน  ทั้งสามท่านหมดแรงไม่สามารถที่จะปีนขึ้นไปเก็บผลไม้บนต้นมากินเป็นอาหารได้   จึงอาศัยตอนเช้าเฝ้าคอยฟังเสียง  ชะนี  ลิง  ค่าง  ที่ตรงไหน?  มีเสียงร้องมาก ๆ ก็เดินไปที่โคนต้นไม้นั้น เพื่อเก็บเศษผลไม้ที่มันกินเหลือตกหล่นลงมาตามแถว ๆ  ใต้ร่มไม้ต่าง ๆ กินเป็นอาหารพอกันความตาย  แล้วค่อย ๆ เดินกระเสือกกระสนไปจนถึงเมืองโซกาย

พอเหยียบลานวัด  ก็เห็นภิกษุวัยกลางคนองค์หนึ่ง  กำลังสอนธรรมแก่เณร 3 รูป  ดูกิริยาท่วงทีสุขุมนิ่มนวลมีรอยแย้มอมแฝงอยู่ด้วยแสงเหลืองอร่าม    สายตามองตรงทอดต่ำลงอยู่ในท่าสำรวม เผยให้ท่านทั้งสามแลเห็นแววตา ที่แสดงถึงความแห้งจากกาม

ลักษณะนี้ตามตำรา  โหงวเฮ้ง  เขากล่าวไว้ว่า . .


บทที่ ๙

หลังจาก พระจักรพรรดินี  พระพันปีหลวง “บูเช็กเทียง”  และพระมหาจักรพรรดิ์  “จงจุง”  ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาตามหลัก  “นิกายเซ็น (สุญตา)” แล้วพระองค์ท่านทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง ได้ทรงแนะนำขุนนางชั้นผู้ใหญ่หลายท่าน  ว่าควรไปศึกษาธรรมแบบ “นิกายเซ็น (สุญตา)”  ณ เมืองโซกายเพื่อให้ได้นำเอามาปรับปรุงแก้ไขการปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุขสืบไป

ท่านพ่อ   จวนจะใกล้เวลาดับขันธ์ปรินิพพานอยู่แล้ว  มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่  เป็นจำนวนมากได้เดินทางมายังโซกาย  เพื่อศึกษาธรรม

โล้วไต้เม้ง ขุนนางผู้หนึ่งได้กราบเรียนท่านพ่อว่า  กระผมได้ฟังธรรมที่ท่านพ่อสอนอยู่นี้แล้ว  พอจะเข้าใจได้บ้างว่า  เป็น “ปัญญาวิมุตติ” แต่กระผมเป็นนักปกครอง  ยังมีความเป็นห่วงว่า  ประชาชนอีกมากหลายเขาจะไม่สามารถนำเอาหลักธรรม  ที่พระคุณเจ้าสอนไว้นี้  ไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตประจำวันทั่วไปได้  ขอพระคุณเจ้าได้โปรดกรุณาสอนหลักธรรมที่ง่าย ๆ กว่านี้   เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองสืบไปด้วย ขอรับพระคุณเจ้า . .


บทที่ ๑๐

ภิกษุทั้ง 4 ท่านได้จาริกไปตามแดนต่าง ๆ  ในระหว่างทาง มีอุบาสกผู้หนึ่ง ชื่อ “ลี้ช่งฮุ้น”   มาถามปัญหาธรรมว่า  ความหมายของคำว่า “พระโพธิสัตว์”  นั้นมีอย่างไร?

ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ  ตอบว่า “พระโพธิสัตว์”  นั้น พอสรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ ก่อนมี 2 ประเภท คือ “อริยโพธิสัตว์” กับ “ปุถุชนโพธิสัตว์”

ประเภทแรก อริยโพธิสัตว์ เป็นบุคคลที่มี กาย วาจา ใจ และศีลวินยับริสุทธิ์  เป็นพระอริยเจ้า  เป็นเนื้อนาบุญของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลายโดยแท้จริง  ท่านมี “มหาปณิธาน 4 ข้อ” เป็นอุดมคติทางใจสูง . .


บทที่ ๑๑

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๒

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๓

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๔

เพิ่มข้อมูล . .


หมายเหตุ เล่มที่ 1



↑ [𝓚] ฉบับแก้ไขสมบูรณ์ถาวร แปล เรียบเรียง และเขียนโดย “ธ. ธีรทาส”
↑ [1] หนังสือจัดพิมพ์เฉพาะกิจชมรมธรรมทาน โดย ธีรทาส (ตำนานโรงเจ, ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่ม 1)
↑ [2] บรรยายธรรมจากหน้าปกสารบัญ (ข้อประวัติ อ้างโยงเล่ม 2) บทโศลก ว่า  เราจะอธิบายหลักธรรมระบอบนี้โด้โดยวิธี ต่าง ๆ ตั้ง ๑๐,๐๐๐. (หนึ่งหมื่น) วิธี แต่ว่าคำอธิบายทั้งหมดนั้น อาจจะลากให้หวนกลับ มาสู่หลักดุจเดียวกันได้. ฯ
↑ [3] จากรายละเอียดของ เล่ม 1, หน้าที่ ณ. 10 - ญ. 11
↑ [4] เซ็น (ฌาน) คือสุญญตาธรรมที่ให้ความรู้แจ้งทางจิตใจ เป็นปัญญาวิมุตติ
↑ [5] . . .
↑ [6] . . .
↑ [7] . . .
↑ [8] . . .
↑ [9] . . .
↑ [10] . . .
↑ [11] . . .
↑ [12] . . .




บทที่ ๑บทที่ ๒บทที่ ๓บทที่ ๔บทที่ ๕บทที่ ๖บทที่ ๗บทที่ ๘บทที่ ๙บทที่ ๑๐บทที่ ๑๑บทที่ ๑๒บทที่ ๑๓บทที่ ๑๔บทที่ ๑๕บทที่ ๑๖บทที่ ๑๗บทที่ ๑๘บทที่ ๑๙บทที่ ๒๐บทที่ ๒๑บทที่ ๒๒บทที่ ๒๓บทที่ ๒๔บทที่ ๒๕บทที่ ๒๖บทที่ ๒๗


หนังสือธรรมทาน
ชุด[𝓛] ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ ๒

บทที่ ๑

ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ เทศนาแนะศิลปกรรมวิธีการละเลิกจากสิ่งเสพติด เช่น เหล้า ฝิ่น บุหรี่ และการพนันต่าง ๆ ด้วยการเจริญสมาธิ “วิปัสนาลืมตา” . .


บทที่ ๒

นายตือ เล่าเรื่องตายแล้ววิญญาณไปเมืองนรก พบนายเสมียนคุมบัญชีคนตาย โต้เถียงกับพวกวัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ฯลฯ ท่านยมบาล ต่ออายุให้อีก 10 ปีเพราะบุญกุศลที่ได้ช่วยเขาพิมพ์ หนังสือธรรมะแจกทานไป นายตือ ได้บวชเป็นพระชื่อ “ภิกษุสำนึกบาป” . .


บทที่ ๓

นายบักจุ้ย คหบดีกลุ้มใจเพราะมีสมบัติทรัพย์สินมากเกินไป และลูกจ้าง ข้าทาสบริวารทำให้เกิดโทสะ พบวิธีดับทุกข์จากการมีสมบัติและระงับความโกรธนั้นด้วยธรรมะอย่างนี้ . .


บทที่ ๔

ภิกษุชื่อเช็งเฮียง ถามปัญหาเรื่องคนจน และคนรวย เขาทำบุญด้วยอะไร ๆ ไว้จึงต่างกันมากมายนัก ตอบทานรวย—ศีลสวย—สมาธิปัญญางาม . .


บทที่ ๕

นายง้วนไล้ ชอบของศักดิ์สิทธิ์ ขอของวิเศษไว้ป้องกันตัว พระดินหรือตกก็แตก พระทองหรือตกน้ำก็จม พระไม้หรือถูกไฟก็ไหม้ แพ้พระนิพพานหมดเลย . .


บทที่ ๖

ล้อทงตั๊ก ถามเรื่องฆ่าสัตว์ทำบุญ เซ่นไหว้ดวงวิญญาณวันตรุษจีน. วันสารทจีน. แลพิธีกรรมศาสนาขงจื้อ. การทรงวิญญาณสะกดจิตตนเองของพวกเต๋าชั้นต่ำ ๆ ถ้าเป็นเต๋าชั้นสูงแล้ว ถือศีลกุศลกรรมบถ 10 ประการ ไม่เสพเนื้อสัตว์ มีปัญญาทำฌานสมาบัติ . .


บทที่ ๗

สามเณร 10 รูป มาขอศึกษาวิปัสสนาธรรมชาติ ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ สอนการดับทุกข์กายใจด้วยวิปัสสนาลืมตา 12 ประการ . .


บทที่ ๘

ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ นั่งสมาธิผจญมารสาวสวยเปลือยกาย ขับร้องเพลง ผูกเป็นบทกลอน อันยียวนชวนพิศวาสเป็นยิ่งนักแล . .


บทที่ ๙

เล้าเต๋าเต็ก ถามวิธีการปฏิบัติธรรมะอย่างฉับพลันอย่างไร ? ตอบด้วยโศลกคติธรรมของพระบรมครูต่าง ๆ . .


บทที่ ๑๐

สามเณรเช็งไฮ้ และสามเณรแชฮุ้น ถามว่าลูกแมวจะเป็น “พุทธะ” ได้ไหม ? ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำตอบว่า “ได้ซี” . .


บทที่ ๑๑

ภิกษุเต๋าชวง บวชมา 20 พรรษา อ่านพระไตรปิฎกเกือบหมดแล้ว แต่ยังไม่รู้ความหมายคำว่า “พุทธะ และธรรมะ” ต่างกันอย่างไร ? . .


บทที่ ๑๒

ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ พบหมู่บ้านแห่งความกตัญญูกตเวทิคุณ ตัวอย่าง นายเล้าเฮ้าหุย นางลี้เม้งเตียง ต้องนำลูกชายออกขาย เพื่อเอาเงินมาเลี้ยงมารดาวัยชราภาพ . .


บทที่ ๑๓

นายเตียเฮ้าเนี๋ยม นางกวงเฮ้าเฮียง มีความกตัญญูกตเวทิคุณ ตัวอย่างของชาติบ้านเมือง . .


บทที่ ๑๔

ภิกษุเต๋าโคง ถามท่านใช้จิตอะไรปฏิบัติธรรมะ ? ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบไม่มีจิตปฏิบัติธรรมะ . .


บทที่ ๑๕

นายเตียเต๋าไฮ้ ถามใครจะเห็นธรรมะได้ครับ ? ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบผู้ได้สติ และมีปัญญาจักษุ . .


บทที่ ๑๖

เล้ากิมเช็ง ถามเรื่องพระสังฆปรินายกองค์ที่ 6 “เว่ยหล่าง” มีกิจวัตรประจำวันอย่างไรบ้าง ? ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ตอบมนุษย์ยังเข้าใจธรรมชาติของสังขารผิดไปมาก คือกายเนื้อของพระอรหันต์ หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นั้น ก็เจ็บป่วยได้เหมือนกัน แต่พระอริยเจ้า ท่านไม่มีทุกข์ยึดมั่นถือมั่นในสังขารนั้น ปุถุชนเรา ยึดมั่นถือมั่นในสังขารมากเกินไป จนเป็นทุกข์เพราะสังขาร ต่างกันเพียงเท่านี้ . .


บทที่ ๑๗

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๘

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๙

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๐

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๑

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๒

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๓

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๔

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๕

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๖

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๒๗

เพิ่มข้อมูล . .


หมายเหตุ เล่มที่ 2



↑ [𝓛] ฉบับแก้ไขสมบูรณ์ถาวร แปล เรียบเรียง และเขียนโดย “ธ. ธีรทาส”
↑ [1] . . .
↑ [2] . . .
↑ [3] . . .
↑ [4] . . .
↑ [5] . . .
↑ [6] . . .
↑ [7] . . .
↑ [8] . . .
↑ [9] . . .
↑ [10] . . .
↑ [11] . . .
↑ [12] . . .




บทที่ ๑บทที่ ๒บทที่ ๓บทที่ ๔บทที่ ๕บทที่ ๖บทที่ ๗บทที่ ๘บทที่ ๙บทที่ ๑๐บทที่ ๑๑บทที่ ๑๒บทที่ ๑๓


หนังสือธรรมทาน
ชุด[𝓜] ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ ๓

บทที่ ๑

มีคฤหบดีท่านหนึ่ง  ชื่อ “นายโต๋วกัง”  ผู้มีสมญานามว่า “ศิษย์ร้อยแปดสำนัก” คือ พอได้ทราบข่าวว่ามีการเทศนาธรรม หรือเขาตั้งสำนักสอนสมถะและวิปัสสนากรรมฐานต่าง ๆ กันขึ้นแล้ว   ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนก็ตามแกเป็นต้องปราดไปถึง... ไปขอมีหุ้นส่วนกันกับเขาที่นั้นหมดทุก ๆ แห่งเลยก็ว่าได้ และเป็นบุคคลที่มี ปัญหาธรรมะร้อยแปดพันประการ แบกเอาไว้จนเต็มบ่า บรรจุเอาไว้จนแน่นท้องเต็มพุงกันเลยทีเดียว!    ถ้าได้พบอาจารย์สอนธรรมองค์ไหนเข้าแล้ว เป็นต้องขอซักถามปัญหาข้องใจ? ถามกันอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น  จนทำให้อาจารย์นิ่งอึ้ง!  บ้างก็ปวดหัว... ไม่รู้ว่าจะตอบแกอย่างไรดีก็มีตาม ๆ กันไปเชียว... แต่มหาชนทั้งหลายชอบแกมาก เพราะว่าตลกดีและเข้าใจถามปัญหา... ที่คนส่วนมากยังสังสัยข้องใจกันอยู่ทั้งนั้น    ในที่สุดแล้วแกก็ต้องติดใจ...แนวทางการสอนแบบวิธีเรียนลัดตรง ๆ อย่างคณาจารย์เซ็น (ฌาน)  ต่าง ๆ อยู่มิใช่น้อย  คือพูดกันไม่กี่คำก็รู้เรื่องกันเลย... ถ้าไม่รู้ก็ให้จงเก็บเอาไปขบคิดเป็น “ปริศนาธรรม คือ โกอาน” แกจึงคิดหวนกลับมา  นมัสการขอซักถามปัญหา . .


บทที่ ๒

มีสามเณรพี่น้องฝาแฝดอายุ 17 ปี  ชื่อ  “กวงหุย และ กวงโคง”  ได้ธุดงค์มาจากแดนไกล  นมัสการพระภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ เพื่อประสงค์จะขอติดตามไปศึกษาธรรมะด้วย:-

สามเณรกวงหุย  นมัสการแล้วได้ถามว่า  กระผมทั้งสองนี้ได้ศึกษา  พระสูตร ต่าง ๆ  แล้วก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาใน อุดมคติของ “โพธิสัตว์ภูมิ”  มาก  และก็ได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ ว่า  จะพยายามสร้างสมบุญกุศลบารมีทุก ๆ อย่าง    เท่าที่จะมีโอกาศอำนวยให้กระทำเสมอ ๆ ไปจนกระทั่งได้บรรลุ “พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ”

บัดนี้กระผมขอให้ท่านอาจารย์  ช่วยกรุณาชี้แนะแนวทางที่จะเจริญรอยตาม “โพธิสัตว์มรรค”  ให้กระผมทั้งสองทราบบ้าง  เพื่อจะได้ถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติธรรมและสร้างอาณาจักรใจนี้เอาไว้โปรดสัตว์สืบไปด้วยครับ!  พระคุณเจ้า

ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ยกมือขึ้นไหว้ สาธุ!  ฉันขอน้อมนมัสการคุณธรรมในดวงจิตของเธอทั้งสองที่จะเป็น “พระพุทธเจ้า” ในอนาคตกาลแห่งสังสารวัฏ  ไว้ล่วงหน้า ณ ที่นี้ก่อนด้วย  เป็นเพราะชนส่วนมากกลัวความทุกข์ในการสร้างสมบารมี   ช่วยผู้อื่นก่อนเป็นเป้าหมาย จึงคิดแต่เพียงขอให้ตนเองรอดไปผู้เดียว  เอาตัวเองรอดก็พอแล้ว  จิตใจยังคับแคบมากไป  ยังมีคนจำนวนนี้มากมายทีเดียว แต่เขาหารู้ความจริงไม่ว่า “การช่วยผู้อื่นก่อนนั้น ก็คือเป็นการช่วยตนเองในวัฏสงสารนั่นเอง”  เพราะว่าตราบใดที่เรายังเอาตัวเองไปไม่รอด  ยังไม่หลุดพ้นจากวัฏฏะนั้น  เราก็ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ดี   เมื่อยังจะต้องท่องเที่ยวในทะเลเพลิงทุกข์แห่งการต้องเกิดและตายนั้น   ก็ยังจะต้องอาศัยบุญกุศลบารมีไปก่อน  เป็นเสมือนเรือจ้างข้ามฝั่งไปนิพพาน  แล้ว . .


บทที่ ๓

วันหนึ่งแห่งวิสาขบูชา  ได้มีท่านผู้มีชื่อเสียง ชื่อ  “กวงเม่งตี่”  เป็นซิ่วใจ๋ สมัยหนุ่มเคยรับราชการ  มีชื่อเสียงมาก ได้มานมัสการ ท่านภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ:-

ท่านซิ่วใจ๋  นมัสการแล้วถามว่า  กระผมเป็นคนอย่างไรก็ไม่รู้ครับ! พระคุณเจ้า  เดี๋ยวนี้อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ๆ ได้ไม่นานลูกนัยน์ตาก็ฟาง-แสบ!  น้ำตาก็จะไหลซึมออกมา  ถ้ายิ่งขืนทนอ่านต่อ ๆ ไปแล้ว เส้นที่ขมับทั้งสองข้างจะกระตุก!  เต้นตุบ! ตุบ...แล้วก็จะปวดกระบอกตารู้สึกเวียนหัว   และบางวันจิตใจหงุดหงิดไปทั้งตลอดวันคืน  ถ้าบังเอิญเกิดมีลูกหลาน หรือคนใช้เข้ามาพูด    มาทำอะไรที่เห็นแล้วไม่ค่อยจะถูกกับจิตใจ   เพียงนิดเดียวเท่านั้น  กระผมก็จะทนอยู่ไม่ได้ มันให้เกิดโทสะ-โมหะ จี๋! ขึ้นมาทันทีเลย!

แล้วทีนี้มือก็จะสั่น!  หัวใจก็จะหวิว! หวิว! จะพูดจาอะไรก็ตะกุกตะกัก!   ขากรรไกรมันก็ชักจะแข็ง!   มืออ่อนตีนอ่อนหมดแรงไปเลย  ส่วนภายในจิตใจที่แท้จริงนั้นมันยังไม่ยอม มันคิดจะสู้ตะพึดตะพือไปครับ!   แต่ทำไมปากมันไม่ยอมพูดจาตามใจเราสั่ง กายก็ไม่ยอมทำตามที่เราคิด  ซึ่งไม่เห็นเหมือนกันกับสมัยที่กระผมสอบซิ่วใจ๋ได้ใหม่ ๆ    ตอนโน้นยังจำได้ว่าเป็นนักโต้วาทีตัวเอก  หรือจะคิดอ่านการงานอะไรๆ ก็ไม่เคยแพ้เขาเลย แต่ทำไมเดี๋ยวนี้มันช่างตรงกันข้ามไปเสียหมดแล้ว  อย่างนี้มันจะเป็นเคราะห์กรรมอะไร?  ของกระผมครับ!  พอจะมีทางที่จะสะเดาะเคราะห์เสกเป่าขับไล่ให้โรคภัยเหล่านี้ออกไป   ให้หายได้บ้างไหมครับ?  พระคุณเจ้า

ภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ   ได้รู้กิตติศัพท์ชื่อเสียงของท่านซิ่วใจ๋ผู้นี้ดีมาก่อนแล้ว แต่ยังขาดเรื่องความรู้แจ้งทางอนุสัยจิตของตนเอง  จึงได้ตอบไปว่า . .


บทที่ ๔

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๕

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๖

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๗

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๘

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๙

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๐

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๑

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๒

เพิ่มข้อมูล . .


บทที่ ๑๓

เพิ่มข้อมูล . .


หมายเหตุ เล่มที่ 3



↑ [𝓜] ฉบับแก้ไขสมบูรณ์ถาวร แปล เรียบเรียง และเขียนโดย “ธ. ธีรทาส”
↑ [1] . . .
↑ [2] . . .
↑ [3] . . .
↑ [4] . . .
↑ [5] . . .
↑ [6] . . .
↑ [7] . . .
↑ [8] . . .
↑ [9] . . .
↑ [10] . . .
↑ [11] . . .
↑ [12] . . .




บทที่ ๑บทที่ ๒บทที่ ๓บทที่ ๔บทที่ ๕บทที่ ๖บทที่ ๗บทที่ ๘บทที่ ๙บทที่ ๑๐บทที่ ๑๑บทที่ ๑๒บทที่ ๑๓บทที่ ๑๔บทที่ ๑๕


หนังสือธรรมทาน
ชุด[𝓝] ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น เล่มที่ ๔

บทที่ ๑

พระภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ และคณะศิษย์ต่าง ๆ ได้ธุดงค์ไปนมัสการ  ท่านนักปราชญ์องค์หนึ่งมีชื่อว่า  คิ้มสิ่วเซียนซือ[1]   เรื่องที่จะเล่ากันต่อไปนี้   ใครจะฟังได้หรือไม่ได้นั้น อริยปราชญ์โบราณท่านได้กล่าวว่า “ดอกบัว 4 เหล่า” จะให้ออกดอกบานสะพรั่ง  ดูสีสรรค์สวยงามพร้อม ๆ กันทันทีหมดทุก ๆ ดอกไปนั้นย่อมจะเป็นไปไม่ได้แน่นอน เอาล่ะ!  แล้วแต่ท่านจะใช้วิจารณญาณของตนเองไปพลาง ขบคิดติดตามไปก่อนเถิด! มีบางเรื่องฉันก็ได้เห็นมา บางเรื่องฉันก็ได้ยินเขาเล่า ๆ กันสืบ ๆ ลงมาถึงฉันเลยเอามาเก็บไว้ในเล่มนี้  บางเรื่องฉันก็ได้ไปค้นพบจาก “สูตรศาสตร์” อันมีค่า ซึ่งเป็นคำปริศนาจารึก . .


บทที่ ๒

เรื่องภายในอุทยานของ  หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ)  จะขอเล่าต่อไปอีกหน่อย พอตะวันสายพวกคณะ ลิงเผือก ลิงดำ ลิงขาว ลิงลม ลิงเสม ลิงกัง ลิงอุรังอุตัง ค่าง บ่าง ชะนี น้อยใหญ่ต่าง ๆ พวกที่มีตัวโตก็ทำหน้าที่ตะพายถุงย่าม แล้วก็แย่งกันรีบกระโดดขึ้นขี่บนหลังของ วัวแดง วัวกระทิง ควายเผือก ควายดำ ช้าง ม้า ลา แรด พอขี่ได้แล้ว ก็รีบตบมือ ตบตีน เกาหู ยักคิ้ว บ้างก็ร้องเจี๊ยก! จ๊าก! เพราะแย่งที่นั่งดี ๆ กับเขาไม่ได้ บ้างก็ร้องเพลงฮะฮา! แฮะ! แฮ้!! กูเป็นนายได้ขี่หลังพวกมึงแล้วโว้ย!

แล้วพวกวัว ควาย ช้าง ม้า สัตว์อันแสนรู้ที่ตัวใหญ่ ๆ ก็นำกองทัพพากันเข้าป่าไปขนลูกผลไม้ลูกโต ๆ ต่าง ๆ พวกคณะหมาจิ้งจอก หมาป่า หมี แพะ แกะ กวาง อีเก้ง เลียงผา ก็ติดตามไปคอย . .


บทที่ ๓

แล้ว  เซียนน้อย พูดอีกว่า ฉันคิดมานานแล้ว  คือ จะไปเก็บเรื่องใหญ่โต อีกเรื่องหนึ่งเอาไว้ทำไมกัน ซึ่งปราชญ์เทียมเขาช่วยกันปกปิดทำบาปกรรม  มีแต่จะอำพรางความลับนี้เอาไว้ก่อนมากมาย  หลวงพ่อเฒ่า ท่านเคยกระซิบบอกความจริงกับปู่ทวด ของฉันไว้ว่า ดังนี้  ท่านว่าคนพวกนั้น ไม่ต้องไปสอนเรื่องพูด พอถึงเวลาเข้าแล้ว ส่วนมากคนมักคันปาก... อดที่จะพูดกันไม่ได้เลย! ซึ่งตัวฉันเอง ตอนวัยหนุ่ม ๆ ก็ปากคันเช่นกัน ถ้าไม่พูดเรื่องบุญก็พูดเรื่องบาป อย่าไปให้รู้เรื่องอะไร ๆ เข้าเชียวนา! มักจะเห็นเป็นของสนุก ๆ มักจะเก็บความลับนั้น . .


บทที่ ๔

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ท่านได้เทศนาสอนศิษย์ไว้อย่างนี้อีกว่า ถ้าเกิดมีใคร ๆ ไปศึกษาหมดทุก ๆ ศาสนาใหญ่ ๆ แล้วนำมาเปรียบเทียบ แยกธาตุดูหาความจริงในคำสอนที่เป็นแก่นแท้ว่ามีอะไร ๆ สอนซ้ำความกันตรงไหนบ้าง เพราะมันก็มีซ้ำกันมานมนานแล้ว. มีคำพังเพยที่น่าฟังมาก เขาว่า “ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ สายลม แสงแดด น้ำฝนนั้นไม่ใช่จะมีผูกขาดไว้อยู่แต่ในเมืองเดียว” มันผลัดเปลี่ยนกันได้นา! คือศาสนาใหญ่ ๆ นั้นเป้าหมายที่สุดไปทางเดียวกัน ตรงที่สอนให้มนุษย์ละความชั่วสร้างความดีเป็นหลักใหญ่ แล้วเรื่องนรกสวรรค์นั้นมักจะมีคล้าย ๆ กัน แล้วตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้นั้น ชัดเจนมากว่า “โลกนี้คือกายยาวประมาณวาหนึ่ง กว้างประมาณศอกหนึ่ง หนาประมาณคืบหนึ่ง พร้อมด้วยสัญญาและใจ” สรุปแล้ว พระพุทธองค์มุ่งชี้ลงไปในวงความหมายว่า “นรกในอก-สวรรค์อยู่ในจิตใจ” นอกนั้นไม่ใช่ . .


บทที่ ๕

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ของฉันท่านบอกว่า ถ้าพวกเธอได้ศึกษา พระไตรปิฎก  แล้วจะพบว่า หลักธรรมตอนที่สำคัญ ๆ แล้ว พระพุทธองค์มักจะเทศนา ซ้ำย้ำความไว้เสมอ ๆ แล้วท่านก็ไดผ่านมามากครูศึกษาหลาย ๆ ศาสนา   แต่ส่วนมาสอนผูก สอนให้ติดในหลักธรรม ไม่ค่อยจะได้สอนแก้  คือไม่ให้ติดในหลักธรรมนั้นเท่าไรกันนักเลย  แต่มาพบอาจารย์เซ็น (ฌาน) ต่าง ๆ ผิดกว่าเขามาก เพราะว่าท่านสอนแต่การแก้การถอนความหลงผิดต่าง ๆ แก้กันทั้งขึ้นทั้งล่องเลย แก้จนหลุดปลดปล่อยตนเอง จนวิญญาณอิสระไปเป็นเป้าหมาย  ท่านมักจะชอบใช้คำพูดว่า “ถ้ารู้อย่างนี้แล้วจะรู้หมด” แทบจะรู้โครงสร้างจุดยืนของแต่ละศาสนาได้มาก . .


บทที่ ๖

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ของฉันท่านได้เคยเทศนาไว้อีกว่า คำสอนของท่านทั้งหมดนั้นระวังอย่าให้เข้าใจผิดไปว่า ท่านอิจฉาพวกลัทธิผีสางเทวดาต่าง ๆ อะไรเลย ไม่ใช่อย่างนั้น ดูแต่ครั้งก่อนพุทธกาล ก็มีเรื่องหลงผิดต่อสัจภาวะธรรมกันมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิดขึ้นมาก็เพื่อที่จะชี้แจงสิ่งที่หลงผิด นำไปหาทางที่ถูก  ได้ล้มความเชื่อถือที่ผิด ๆ งมงายเกินกว่าเหตุผลของชาวอินเดียโบราณลงไปได้หลายร้อยปี  ศาสนาพุทธเป็นศาสนาของผู้รู้แจ้งในสัจธรรม  รู้แจ้งในอนุสัยจิตใจตนเองก่อน เป็นผู้ตื่นอยู่ในธรรมชาติ เบิกบานใจในทางหลุดพ้นทุกข์ทั้งปวงแล...

ฉะนั้น หลวงพ่อเฒ่า ท่านก็เป็นสาวกของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่นกัน  ก็ต้องทำหน้าที่ของครูบาสอนสัจธรรมป้องกันศิษย์หลงผิดไปต่างหาก! ทำหน้าที่ของ “โพธิสัตว์”  โปรดสัตว์ออกจากอวิชชา นำไปสู่วิปัสสนาปัญญา . .


บทที่ ๗

พระภิกษุดอกบัวพ้นน้ำ ขอหวนกลับไปเล่าถึงเรื่อง ของในวัด หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) กันอีกที เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ก็เป็นที่เล่าลือ เหมือนกับนิทานชาดกสนุก ๆ  ติดปากชาวเมืองต่าง ๆ ไป ว่าคนและสัตว์ เทวดา โยคี สามเณร เซียน ต่าง ๆ เขาเมาเรื่องชาติภพ แล้วอวดเบ่งใหญ่โตทับ ๆ กัน หรือทำสังคายนาเรื่องชาติกำเนิดว่า ของใครจะดีมีบุญสูงกว่ากัน ไม่ลงเอยกันได้  หลวงพ่อเฒ่า พอรู้เรื่องทั้งหมดแล้ว ท่านบอกว่าเรื่องนี้ดีมาก สมควรที่จะจารึกเอาไว้ให้คนรุ่นหลัง ๆ ได้รู้กันบ้าง  ให้ตั้งชื่อเรื่องว่า “ปัญญาชาดก” มันมีประโยชน์อยู่หลายทาง   เช่นทำให้คนที่ยังไม่เชื่อเรื่องนี้เลยเกิดความฉงน! สงสัย...แล้วตรงนี้เองจะทำให้เขาจดจำเอาไปค้นคว้าหาความจริงสืบไปนาน ๆ แล้วอีกพวกหนึ่งก็จะได้อ่านเล่นเป็นนิทานที่แทรกคติธรรมให้เขาได้รู้โดยปริยาย เบาสมองไปพลางก่อน บางทีอาจจะเป็นบุญกุศลบารมีของเขาที่ในชาติก่อน ๆ ได้เคยอุทิศธรรมทานแนวทางนี้ไว้บ้าง  ผลบุญให้มีโอกาสมาพบธรรมง่าย ๆ นี้อีก

หรือเพียงแต่มาได้ยินเข้านิดเดียว  ประโยคเดียวในปัญหาธรรมนี้เท่านั้นก็อาจจะมีอิทธิพลดลจิตใจ ให้เขาสามารถเรียกร้องปลุกระดมดึงดูดเอาความทรงจำแต่ชาติหนหลัง ๆ ของเขามาได้มาก คือการเกิดสติปัญญา ได้ระลึกถึงในความรู้ . .


บทที่ ๘

ด.ช. เท้ง แซ่เล้า  เป็นโรคริดสีดวงทวารมาก่อนแล้วพอไปกินลูกฝรั่งดิบ ๆ มาก ๆ เข้า  ขี้แข็งท้องผูก เบ่งจนปวดปากทวารฉีกหัวริดสีดวงแตก เลือดออกอักเสบ นั่งเดินไม่ถนัดนอนร้องไห้อยู่จน หลวงพ่อเฒ่า ท่านได้ยินเข้าก็ซักถามจนรู้ความ แล้วท่านก็บอกว่านั่นแหละ เป็นกรรมของเธอ กรรมมันสร้างกายเนื้อ มาหลายชั้นทับซ้อนกัน ถ้าเธอมีปัญญาจักษุก็จะตีแตก ว่าอะไรเป็นต้นเหตุใหญ่ แต่ส่วนมากเป็นบาปกรรมที่ฆ่าสัตว์ ที่กินเนื้อสัตว์ เช่นชอบกินเป็ด กินไก่ กินห่าน กินมันมาหลายชาติแล้วโว้ย!  เพราะว่าสัตว์ต่าง ๆ เหล่านั้น มันตายโหง ถ้าไม่เชื่อแล้ว จงไปดูตอนที่เขาทำ ต้องจับสัตว์นั้นมาผูกมัด แล้วเชือดฆ่าเลือดแดง ๆ ไหลออกมาก่อน แล้วก็ต้องผ่าตัดช่องท้อง เปิดทวารแหวะก้น เอานิ้วมือไชล้วงเข้าไปในรูตูดของมัน แล้วก็ควักดึงเอาพวกลำไส้ เครื่องในเป็ดไก่ห่าน ฯลฯ  ออกมาเป็นพวง ๆ เลย กรรมอย่างนั้นมันยุติธรรมแล้วนา!

พวกเธอนี่มีแต่มาทำให้ฉันต้องยุ่งใจเสมอ ๆ ไม่ไอ้คนโน้น! ก็ไอ้คนนี้ต้องมีเรื่องไม่เว้นแต่ละวันกันเลย . .


บทที่ ๙

ด.ช. บู๊ แซ่โข้ว  จอมซุกซนได้เรื่องใหญ่โต ปีนต้นไม้ขึ้นไปตีผึ้ง ถูกผึ้งต่อยตกจากต้นไม้แขนเดาะ ฟกช้ำดำเขียวหัวโนตุ่ยร้องไห้ปวด ๆ โอ๊ย! โอย ๆ ๆ ๆ พวกเพื่อน ๆ ช่วยกันหามมาวางไว้ที่หน้าเก้าอี้ หลวงพ่อเฒ่า

หลวงพ่อเฒ่า ท่านพอเห็นเข้า ก็สั่นหัวเอาอีกแล้ว พวกเองนี่! ไม่มีการซ้ำแบบกันเลยโว้ย! เป็นเวรกรรมเก่าของฉันตามมาถึง แล้วละกระมั้ง? พวกเอ็ง ๆ นั้นรู้กันบ้างไหม? ว่านั่นเป็นบาปกรรมของปาณาติบาต ฯ กรรมทันตาเห็นปัจจุบันกรรมเลย “ทำปุ๊บให้ผล ปั๊บเลย” ถ้าจะแยกธาตุแล้วการตีผึ้งนั้น (1) เอาไฟไปเผาบ้านของผึ้งมัน (2) ไปปล้นบ้านแย่งอาหารมัน (3) แล้วฆ่าลูกอ่อนมันตาย. (มีถึง 3 กรรมใหญ่ ๆ)

แล้วพวกเอ็งยังชอบไปจับสัตว์มันมาหักแขน เด็ดขามันเล่น ๆ เช่นหักขาจิ้งหรีด ยิงขานก ตีขาแมว ทุบขาหมา กินขาหมู กินขากุ้ง กินตีนเป็ดและขาไก่ คือกินพวกสัตว์ต่าง ๆ มาก ๆ เอ็งฆ่าเขาตรงนั้นมาก ๆ ทำเขาตรงนั้นมาก ๆ กินเนื้อเขาตรงนั้นมาก ๆ จิตก็อัดภาพนั้นไว้มาก ๆ จิตเกิดถ่ายภาพนั้นไว้เป็นอนุสัย . .


บทที่ ๑๐

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ท่านได้เคยเทศนาไว้อีกว่า ถ้าใครไม่ต้องการจิตว่าง ว่างจากกิเลสกันแล้วบอกกับเขาไปได้เลยว่า ป่วยการที่จะมานับถือ พระพุทธศาสนา เพราะว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสสอนธรรมทั้งหมดนั้น ก็มุ่งให้ดับ ให้พังทำลายกิเลส ให้จิตหมดจากกิเลส ก็คือจิตว่างจากกิเลสนั้นเอง ถ้าใครปฏิเสธจิตว่าง ไม่เอาจิตว่างจากกิเลสแล้ว ดูเหมือนว่าบุคคลนั้นปฏิเสธทางมรรคผลนิพพานของตนเอง ไปด้วยนั้นเอง “โมหะกรรม” อย่างหนึ่ง แล้วฉันขอถาม ขอฝากปัญหานี้ ว่าถ้าบุคคลใด ๆ ทำจิตให้ว่างจากกิเลสได้มาก ๆ กายว่างตามไปอีกด้วย คือว่างจากความยึดมั่น ถือมั่น ในกิเลส ตัณหา อุปาทาน ฝึกหัดได้อย่างนี้บ้างแล้ว ตรงนี้ขอถามนักคิดทางวิญญาณนิยมทั้งหลายว่า ถ้าในอนาคตกาลเขาผู้นั้นเกิดจะตายลงในขณะที่มีจิตอย่างนั้น อยู่ในสภาวะธรรมนั้น ๆ แล้ว เขาจะไปเกิดในนรกก่อนหรือ? หรือว่าไปเกิดในสวรรค์ก่อน? จะเกิดในที่สูงหรือที่ต่ำก่อน? หรือเกิดในที่มีบาปกรรมมากก่อน? หรือเกิดในที่มีบุญมากก่อน? ช่วยกันตอบปัญหานี้...ดูอีกที? เอ้า! อย่ามัวเสียเวลาธรรมะไม่คอยใคร ธรรมชาติไม่ล้อเล่นกับใคร กรรมดี กรรมชั่ว ไม่ยกเว้นให้ใคร และไม่หลอกลวงใคร ๆ คือพูดง่าย ๆ ธรรมชาตินั้นโกหกใครไม่เป็น . .


บทที่ ๑๑

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ท่านอารมณ์แจ่มใสมาก เทศน์ต่อ ๆ ไปอีกจดกันแทบไม่ทันเลย ไอ้คนปวดแขนก็ทนจนหายปวดไปเอง  หรือฟังธรรมะแล้วจิตว่างจากความปวดลงบ้าง.  หลวงพ่อเฒ่า ท่านพูดว่าอย่างนี้อีก พวกเธอยังอ่อนต่อโลก ฟังเรื่องนี้อาจจะไม่รู้เรื่องในทันที แต่จดจำเอาไว้ให้ดี ๆ หลวงพ่อเฒ่าตายไปแล้วจะไม่มีใครกล้าบอกสอนความจริงนี้  ให้พวกเธอทราบได้มากนัก พอโต ๆ ขึ้นไปจะสงสัยธรรมนี้อย่างแน่นอน ฉะนั้นวันนี้ฉันจะพังปัญหาลงไปให้รู้เรื่องกันเสียก่อนเลย ภายหลังจะได้ไม่ไปเสียเวลาสนใจมัน  คือยังมีชนอีกพวกหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างกายเนื้อมาแข็งแรงมาก และมีกามราคะมารุนแรงมากเป็นพื้นฐาน พอได้มาฝึกหัดทำแบบอย่างนี้เข้าไปหน่อย กามตัณหานั้นก็มักจะสงบลงไปชั่วคราว เพราะลดอาหารเนื้อสัตว์ มันช่วยมาก แล้วชนอีกพวกหนึ่งที่เจ้าชู้ หรือเศรษฐี ชอบมีเมียสาวสวยเก็บไว้มาก ๆ พอมาได้ยินคำสอนของฉันว่าใครทำตามแล้วจะดับกามนั้น ทันทีได้ยินคำพูดอย่างนี้ แล้วก็เกิดตกใจเลย!  กลัวไม่กล้ามาศึกษา หรือสนใจธรรมแนวนี้เลย! เพราะเสียดายในกามคุณนั้นอยู่มาก  ยังติดรสของกามนั้น หรือกลัวว่าเรียนแล้ว ทีหลังจะเป็นโรคกามตายด้านไป  ชนพวกนี้คิดอยู่ในใจไม่กล้าบอก ทั้งหญิงและชายกลัวอายมีมากมาย ถ้าพวกเธอไปพบ . .


บทที่ ๑๒

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ท่านบอกว่ายังมีปัญหา ที่เป็นอารมณ์ตกค้าง คือมีนักศึกษาธรรม ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว มักจะชอบสงสัยข้องใจเรื่องมี “มรณญาณ” จะเกิดขึ้นได้อย่างไร? เคล็ดลับที่จะตีปัญหานี้แตกไป อย่างแบบไม่ให้เสียเวลา ให้ศิษย์โง่ฟังกันรู้เรื่องทันที ถ้าไม่รู้ก็ให้เอาไปคิดตีแตกเองอีกที ก็ต้องพูดว่าให้หันไปดู แยกธาตุคำว่า “จิตเดิมแท้” ของมนุษย์เป็น “พุทธะ” ก็ต้องแปลคำว่า “พุทธะ” ดูก่อน ว่าเป็นผู้รู้-ผู้ตื่น-ผู้เบิกบานใจในธรรมชาติแล้ว ในสภาวะเช่นว่าอย่างนี้ “ต้องว่าง-ว่าง-จิตว่างจากกิเลส ฯ” เป็นพื้นฐานมากแน่นอน  แล้วจิตย่อมเป็นประภัสสร ย่อมจะรุ่งเรืองอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวอยู่เสมอ) หรือปัญญา

ในเมื่อส่วนสูงของจิตใจเป็นอย่างนี้ ก็ต้องเรียกว่า “จิตคือธาตุรู้-หรือว่าจิตเป็นตัวรู้” คือรู้ตัวของมันเอง ฉะนั้นปุถุชนถ้าจะมีกรรมวิธี ในการฝึกจิต ทำให้จิตสงบตรัสรู้ถึงธรรมชาติแห่งนิสัยตนเองบ้างแล้ว ภาษาพูดให้ใกล้ที่สุดแล้ว ก็ต้องพูดว่าเข้าถึง “จิตเดิมแท้ (สภาวะที่แท้แห่งจิต)”  อีกนั่นแหละ! ซึ่งนิกายเซ็น (ฌาน) ชอบใช้คำพูดอย่างนี้มากที่สุด แล้วธาตุรู้ ตัวรู้ ของบุคคลนั้นจะเกิดขึ้นมาเอง รวมทั้งถึงการรู้วันเดือนปีตาย การแตกดับของสังขารชีวิตตนอีกด้วย เพราะจิตตรัสรู้ธรรมชาติแห่งนิสัยของตนเอง มันก็ต้องจับวาระจิตนิสัยของตนเอง . .


บทที่ ๑๓

วันนี้ หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ท่านเทศนาต่อไปอีกว่า เอ้า! วันเวลาเหลือน้อยเต็มที จงรีบจดจำกันไว้ด่วน! ได้เท่าไรก็เอาเท่านั้น สุดแล้วแต่บุญหรือบาปของสัตว์โลกเถิด! ความจริงแล้ว คนแบบหลวงพ่อเฒ่านี้ มีแอบซ่อนไว้ในโลกนี้ แต่ละยุค ๆ นั้นมีมากท่าน แต่ไม่มีเวลาและโอกาสอำนวยให้พูดความจริงได้ เพียงแต่พูดบอกสอนกันไว้ในหมู่ชนเดียวกัน ว่าดังนี้มีความจริงอยู่มากอย่างหนึ่ง ที่ได้ชำระแยกธาตุดูใน “พระไตรปิฎก” บ้างแล้ว แลได้ศึกษาศาสนาอื่น ๆ ที่เกิดมีอยู่ก่อนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเกิดขึ้นนั้น แล้วถ้าเอามาเปรียบเทียบดู จะเกิดความสงสัยทันที จะเห็นว่า พระไตรปิฎก ของ พระพุทธศาสนา นั้น เกิดไปพูดซ้ำความ ซ้ำเรื่อง ซ้ำคำสอนของศาสนาอื่น ๆ ศาสดาจารย์อื่น ๆ ก็มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าจะพูดชนิดสมาชิก “กาลามสูตร” ซึ่งใช้ปัญญาล้วน ๆ ไม่ต้องกลัวเกรงใคร ๆ จะโกรธ คือเอาความถูกเป็นธรรมและยุติธรรมเป็นหลักเกณฑ์ . .


บทที่ ๑๔

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ) ได้เคยผ่านประสบการณ์ชั่วและดีของชีวิตมาจนเอือมระอา  เห็นมายาการกลลวงของโลก  ก่อนพวกเธอจะเกิด หรือก่อนปู่ย่าตายายทวด  ของพวกเธอเกิดอีกด้วยซ้ำไป  เมื่อสมัยฉันเป็นเด็ก ๆ ก็จอมซุกซนมือบอนเข้าที่ไหนก็เป็นตัวยุ่งที่นั่น  ไม่ต่างอะไรกับพวกเธอนี้  ตอนวัยหนุ่มก็เป็นคนเลือดร้อน  เป็นคนเถรตรง  คือคนจริงมากเกินไป ที่เขาเรียกว่า “มีปัญญาโลกมากเกินไป-จึงขาดสติ”  เป็นคนที่ถ้าคิดเห็นสิ่งที่ดีแล้ว ก็ต้องพูดโป้งป้าง! ออกไปเลย  ถ้าคิดเห็นสิ่งที่ชั่วแล้ว ก็อดที่จะเก็บเอาไว้ไม่ได้  ถ้าไม่ได้พูดไปจนหมดเลย คงจะอกแตกตาย!  จึงทำให้ผู้อื่น ๆ เขาพลอยเดือดร้อนไปด้วยก็มี กรรม!

ภายหลัง ๆ โลกียะสุดทางเข้าแล้ว    โลกุตระเข้าเอง ตอนนี้ก็มาคิดเสียใจ ที่เขาว่าเรียนมากยากนาน  เพราะว่าความรู้ของตนเองเกิดเป็นพิษแก่ตนเอง  รู้น้อยก็พลอยรำคาญ  เพราะชอบสงสัยปัญหาชีวิตของตนเอง แล้วก็ . .


บทที่ ๑๕

หลวงพ่อเฒ่า (คิ้มสิ่วเซียนซือ)  ท่านว่าเมื่อวันก่อน ๆ นั้น ฉันได้เทศนาไปยืดยาวกันไปหลาย ๆ วันแล้ว  พวกที่เขียนหนังสือยังไม่เก่ง   ไม่รู้จักหนังสือที่ดีพอใช้   ใครรู้จักดีกว่ากัน  ก็ต้องเป็นครูสอนเขาไปในตัวอีกด้วย  ถ้าใครจดกันไม่ทัน  ตกความขาดตอนลงไปก็เอามาสอบทานดู  จะแก้ไขให้จนดีแล้วเอาไปคัดลอกเขียนลายมือให้สวยงาม ส่งมาดูที ถ้าใครเขียนได้ดี สวยงามดี จะอนุญาตให้ลากลับไปเที่ยวบ้านก็ได้ ฉะนั้นจงตั้งใจเขียนดี ๆ แล้วเอาไปฝากพ่อแม่ ว่าอยู่กับ หลวงพ่อเฒ่า มาจนเอือมระอาในป่าดงนี้  ได้ความรู้มาฝากเพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณของพ่อแม่ปู่ย่าตายายได้เท่านี้

แล้ววันนี้ขอเติมย้ำความว่า  ตอกตะปูไว้อีกแบบหนึ่งว่า เรื่องมหาสติปัฏฐาน 4 และมรรคมีองค์ 8 และขันธ์ 5 นั้น  หรือตราบไปจนกระทั่ง  เรื่องโพธิปักขิยธรรม  37 ประการ  และเรื่องธาตุต่าง ๆ อีกด้วยนั้น  หลวงพ่อเฒ่า  ไม่มีเวลาพอที่จะสอนให้จนละเอียดหมดไปได้เลย  ถ้าพวกเธอโต ๆ ขึ้นไปอยากจะรู้แล้ว  ก็จงไปเปิดดูเอาใน  “พระคัมภีร์มหาสุญตาสูตร” มีตั้ง 600 ผูก[1]  พระถังซำจั๋ง  เป็นประธานร่วมกับนักปราชญ์อีก 1,000 องค์ (หนึ่งพันองค์)  ช่วยกันแปลเอาไว้เป็นภาษาจีนอย่างดีเลิศแล้ว  มีทั้งหินยานและมหายานมีครบหลักธรรมแล้ว

แล้วช่วยกันบอกต่อ ๆ ไปอีกด้วยว่า หลวงพ่อเฒ่า กล้าเทศนาสอนความจริงในสัจภาวธรรม แต่ท่านไม่ได้ดูหมิ่นเหยียดหยามศาสนาอื่น ๆ  เขาว่าต่ำช้าไปจนหมดเลยนา!  และก็ไม่ได้ดูถูกผู้อื่น ๆ ว่าชั่วช้าเลวทรามไปจนหมดอีกด้วยนา!  หลวงพ่อเฒ่า มีธรรมเป็นอุดมคติ  ไม่ใช่จะอวดคุณธรรม  ว่าศาสนาของตนเองวิเศษสุดดีกว่าผู้อื่น ๆ  จนหมดนา!  แท้ที่จริงแล้วฉันเป็น “ธรรมาธิปไตย” ต่างหาก!  ใครจะค้านจะด่าสาปแช่งคำเทศนาฉันนี้ก็ได้ ฉันไม่โกรธตอบ แต่บาปกรรมนั้นเป็นของเขาเอง . .


หมายเหตุ เล่มที่ 4



↑ [𝓝] ฉบับแก้ไขสมบูรณ์ถาวร แปล เรียบเรียง และเขียนโดย “ธ. ธีรทาส”
↑ [1] คำว่า “เซียน” ยังเข้าใจเขว เดิมเป็นผู้บรรลุธรรมใน “ลัทธิเต๋า (ธรรม)” แปลว่าวิสุทธิเทพถือศีลกุศลกรรมบถ 10 ประการ ชาวจีนยุคหลังถ้าเห็นว่าใครมีวิชาความรู้ที่ช่วยมนุษย์ได้ จะเป็นพระภิกษุหรือชาวบ้านเขายกย่องว่า “เซียน” ไป พอแปลมาเป็นภาษาไทย พวกที่เจ้าชู้ดื่มเหล้าเก่ง ๆ เล่นการพนันหรือขี้โกงเก่ง ๆ เขาก็ว่า “เซียนไป” คือจอมเซียนไป ความหมายก็ปนเปกันใหญ่โตเลย นี่เป็นความไม่เที่ยงของภาษา “กาลามสูตร” ยังใช้ได้แล . . . . “ธีรทาส”
↑ [2] . . .
↑ [3] . . .
↑ [4] . . .
↑ [5] . . .
↑ [6] . . .
↑ [7] . . .
↑ [8] . . .
↑ [9] . . .
↑ [10] . . .
↑ [11] . . .
↑ [12] . . .